วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอล

ประวัติกีฬาวอลเลย์บอลนอกประเทศ

กีฬาวอลเลย์บอลเริ่มขึ้นเมื่อปี ๒๔๓๘ โดยนายวิลเลียม จี มอร์แกน (William G. Morgan) ผู้อำนวยการฝ่ายพลศึกษาของสมาคมY.M.C.A.(Young Men's Christian Association) เมืองฮอลโยค (Holyoke)มลรัฐแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts) ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้คิดเกมการเล่นขึ้น เนื่องจากในฤดูหนาวหิมะตกลงมา ู้คนทั่วไปไม่สามารถเล่นกีฬากลางแจ้งได้ เขาได้พยายาม คิดและดัดแปลง กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นกิจกรรมนันทนาการผ่อนคลายความตึงเครียดให้เหมาะสมกับฤดูกาล ขณะที่เขาดูการแข่งขันเทนนิส เขาได้เกิดแนวความคิดที่จะนำลักษณะและวิธีการ เล่นของกีฬาเทนนิสมาดัดแปลงใช้เล่น จึงใช้ตาข่ายเทนนิสซึ่งระหว่างเสาโรงยิมเนเซียม สูงจากพื้นประมาณ ๖ ฟุต ๖ นิ้ว และใช้ยางในของลูกบาสเกตบอลสูบลมให้แน่น แล้วใช้มือและแขนตีโต้ ข้ามตาข่ายกันไปมา แต่เนื่องจากยางใน ของลูกบาสเกตบอลเบาเกินไปทำให้ลูกบอลเคลื่อนที่ช้าและทิศทางที่เคลื่อนไปไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาใช้้ลูกบาสเกตบอล แต่ลูกบาสเกตบอลใหญ่ หนักและแข็งเกินไปทำให้มือของผู้เล่นได้รับบาดเจ็บ ในที่สุดเขาจึงให้ บริษัท A.G. Spalding and Brother Company ผลิตลูกบอลที่หุ้มด้วยหนังและบุด้วย ยาง มีเส้นรอบวง ๒๕-๒๗ นิ้ว มีน้ำหนัก ๙- ๑๒ ปอนด์ หลังจากทดลองเล่นแล้ว เขาจึงตั้งชื่อเกมการเล่นนี้ว่า "มินโตเนต" ( Mintonette) ปี พ.ศ ๒๔๓๙ มีการประชุมสัมมนาผู้นำทางพลศึกษาที่วิทยาลัยสปริงฟิลด์ (Spring-field College) นายวิลเลียม จี มอร์แกน ได้สาธิตวิธีการเล่นต่อหน้าที่ประชุมหลังจากที่ประชุมได้ชมการสาธิต ศาสตราจารย์ อัลเฟรด ที เฮลสเตด ( Alfred T. Helstead) ได้เสนอแนะให้มอร์แกนเปลี่ยนจากมินโตเนต (Mintonette) เป็น "วอลเลย์บอล" (Volleyball) โดยให้ความเห็นว่าเป็นวิธีการเล่นโต้ลูกบอลให้ลอยข้ามตาข่ายไปมาในอากาศ โดยผู้เล่นพยายามไม่ให้ลูกบอล ตกพื้น ต่อมากีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมเล่นกันในหมู่ประชาชนชาวอเมริกันเป็นอย่างมาก เพราะเป็นเกมที่เล่นง่าย สามารถเล่นได้ตามชายทุ่งชายหาด และตามค่ายพักแรมทั่วไป ปี พ.ศ ๒๔๗๑ ดอกเตอร์ จอร์จ เจ ฟิเชอร์ ( Dr.George J.Fisher ) ได้ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงกติกา การเล่นวอลเลย์บอล เพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอล ในระดับชาติ ซึ่งบุคคลผู้นี้เป็นผู้มีบทบาทอย่างมาก ในการเผยแพร่กีฬาวอลเลย์บอลจนได้รับสมญานามว่า บิดาแห่งกีฬาวอลเลย์บอล


ประวัติกีฬาวอลเลย์ในประเทศ

กีฬาวอลเลย์บอลได้แพร่เข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีหลักฐานแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าชาวไทย บางกลุ่มได้เริ่มเล่นและแข่งขันกีฬาวอลเลย์บอลมาตั้งแต่หลังสมัยสงครามโลก ครั้งที่ ๒ เป็นต้นมา ปี พ.ศ.๒๔๗๗ กรมพลศึกษาได้จัดให้มีการแข่งขันกีฬาประจำปี และบรรจุกีฬาวอลเลย์บอลหญิงเข้าไว้ ในรายการแข่งขันเป็นครั้งแรก โดยใช้กติกาการเล่นระบบ ๙ คน และตั้งแต่นั้นกีฬาวอลเลย์บอลก็พัฒนาขึ้นโดยตลอด ปี พ.ศ ๒๕๐๐ ประเทศไทยได้จัดตั้งสมาคมกีฬาวอลเลย์บอลขึ้น โดยมี พลเอกสุรจิตร จารุเศรณี เป็นนายกสมาคมคนแรก เมื่อวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๐๐ และได้รับชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "สมาคมวอลเลย์บอลสมัครเล่นแห่งประเทศไทย" (Amature Volleyball Association of Thailand) ปัจจุบันกีฬาวอลเลย์บอลได้นิยมเล่นกันอย่าง แพร่หลายทั้งในโรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย และตามหน่วยงานต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีการจัดการแข่งขัน มากมายหลายรายการ เป็นประจำทุกปี ดยการดำเนินงานของ สมาคมวอลเลย์บอล สมัครเล่นแห่งประเทศไทยและ หน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่ให้การสนับสนุนเป็นอย่างดี

ประโยชน์ของการเล่นวอลเลย์บอล

จำ
การเล่นกีฬาเป็นการออกกำลังกายชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าการออกกำลังกายเป็นยาขนานวิเศษ ดังคำกล่าวที่ว่า"กีฬา กีฬา เป็นยาพิเศษ"วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ทำให้ผู้เล่นเกิดประโยชน์ดังนี้ ๑. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ฝึกหัดเล่นให้เป็นได้ง่ายและเล่นได้ทุกเพศทุกวัย เมื่อเล่นวอลเลย์บอลเป็นแล้ว จะทำให้ผู้เล่นสามารถเล่นกีฬาได้นานกว่ากีฬาบางประเภท ซึ่งคุ้มกับที่ได้ฝึกฝนมาแม้แต่สตรีที่มีบุตร แล้วหากมีร่างกายแข็งแรงก็สามารถเข้าร่วมการแข่งขันได้เป็นอย่างดี ๒. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภททีม จึงต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อให้การเล่นในทีมมีความสัมพันธ์และรักใคร่ ปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากทีมใดขาดความสามัคคีแล้ว เมื่อลงแข่งขันย่อมจะมีชัยชนะได้ยาก ผลของการเล่นกีฬาประเภทนี้จึงสามารถ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้มีนิสัยรักใคร่สามัคคีกันระหว่างหมู่คณะมากยิ่งขึ้น ๓. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยฝึกฝนให้ผู้เล่นมีไหวพริบที่ชาญฉลาดและแก้ปัญหาอย่างฉับพลันทันที เพราะการเล่นวอลเลย์บอลนั้นผู้เล่นจะต้องเคลื่อนไหวร่างกายอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งต้องมีไหวพริบที่ดี สามารถตัดสินใจ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ได้จึงจะทำให้มีชัยชนะในการเล่น ๔. การเล่นวอลเลย์บอลเป็นการส่งเสริมและฝึกให้ผู้เล่นมีจิตใจเยือกเย็น สุขุม รอบคอบ อารมณ์มั่นคง มีสมาธิดี มีความเชื่อมั่นในตัวเอง เพราะผู้เล่นที่อารมณ์ร้อน มุทะลุ ดุดัน เอาแต่ใจตนเอง จะทำให้การเล่น ผิดพลาดบ่อย ๆ ถ้าเป็นการแข่งขันก็จะแพ้ ฝ่ายตรงข้ามได้ง่าย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อตัวผู้เล่นวอลเลย์บอล ที่จะนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันให้เกิด ประโยชน์ต่อตนเองและสังคมอีกด้วย ๕. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่เล่นได้โดยไม่จำกัดเวลา ถ้าหากผู้เล่นรู้จักการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ซึ่งอาจ จะเล่นตอนเช้า สาย บ่าย เย็นหรือแม้แต่ในเวลากลางคืนก็ได้ถ้ามีแสงสว่างเพียงพอ และเล่นได้ทั้งในที่ร่ม หรือกลางแจ้ง ๖. การเล่นวอลเลย์บอล ผู้เล่นต่างก็อยู่ในแดนของตนเองและมีตาข่ายขึงกั้นกลางสนาม ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะปะทะกันระหว่างผู้เล่นทั้งสองฝ่าย จึงไม่ก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น ๗. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพของผู้เล่นอย่างหนึ่ง เพราะผู้เล่นจะต้องถูกฝึกให้มีระเบียบ มีวินัย มีเหตุมีผล รู้จักการเป็นผู้นำผู้ตาม และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการ ปลูกฝังนิสัย อันมีผลที่จะนำมาใช้ในชีวิตประจำวันด้วย ๘.วอลเลย์บอลเป็นกีฬาที่มีกฎกติกา ผู้เล่นต้องเคารพและปฏิบัติตามกฎกติกาการเล่น ดังนั้นการเล่นวอลเลย์บอล ย่อมช่วยสอนให้ผู้เล่นรู้จักความยุติธรรม มีความอดทนอดกลั้นรู้จักเคารพสิทธิของผู้อื่น ๙. วอลเลย์บอลเป็นกีฬาประเภทหนึ่ง ที่ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกายให้มี ีความสมบูรณ์ แข็งแรง เพราะผู้เล่นจะต้องฝึกให้ร่างกายแข็งแรง มีความอดทน มีความคล่องแคล่วว่องไว มีพลังและความเร็ว เมื่อร่างกายได้ออกกำลังกายแล้วยังช่วยให้ ระบบต่างๆ ภายในร่างกายได้ทำงานประสานสัมพันธ์กันเป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้น เมื่อร่างกายแข็งแรงก็จะช่วยเพิ่มความสามารถ ของร่างกายให้มีความต้านทาน ได้ดีด้วย ๑๐. กีฬาวอลเลย์บอลเหมือนกับกีฬาประเภทอื่น ๆ ที่สร้างความมีน้ำใจนักกีฬา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การรู้จักแพ้ ชนะและอภัย นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือในการเป็นสื่อกลาง ก่อให้เกิดความสนิทสนมคุ้นเคยและมีสัมพันธ์ไมตรีอันดีต่อกัน ทั้งระหว่างภายในประเทศ และระหว่างประเทศได้อย่างดี ๑๑. ปัจจุบันผู้เล่นวอลเลย์บอลที่มีความสามารถสูง ยังมีสิทธิ์ได้เข้ามาศึกษาต่อในระดับสูง บางสาขา บางสถาบัน ทั้งสถานการศึกษาของรัฐและเอกชน นอกจากนี้ยังมีหลายหน่วยงาน รับบุคคลที่เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลเข้าทำงาน เพราะวอลเลย์บอลกำลังเป็นกีฬาที่นิยม ของวงการทั่วไปและมีการแข่งขันกันอยู่เป็นประ

มารยาทของผู้เล่นกีฬาวอลเลย์บอล

การเล่นกีฬาทุกชนิดย่อมมีการแสดงออกถึงพฤติกรรมต่างๆ ทางด้านร่างกายที่สอดคล้องกับ กติกาข้อบังคับ ระเบียบและลักษณะของกีฬา แต่ละประเภท ซึ่งผู้เล่นจะต้องประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเหมาะสมกับจรรยานักกีฬาจึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้เล่นที่มีมารยาทดี หากผู้เล่นประพฤติปฏิบัติไม่เหมาะสม ไม่ถูกระเบียบกติกา จะทำให้ผู้ดูรอบสนามและผู้เกี่ยวข้องติเตียนได้ อีกทั้งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการทะเลาะ วิวาทขึ้น ดังนั้นผู้เล่นกีฬาวอลเลย์บอล ควรจะคำนึงถึงมารยาทที่ดีดังนี้
๑. แต่งกายด้วยชุดที่เหมาะสมกับการเล่นวอลเลย์บอล ในการแข่งขันนั้นผู้เล่นต้อง แต่งกายตามกติกา แต่ในการเล่นทั่วไปเพื่อความสนุกสนานหรือเพื่อออกกำลังกาย ควรจะแต่งกายให้เหมาะสม บางคนสวมรองเท้าแตะหรือแต่งชุดไปเที่ยวลงเล่น เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บระหว่างการเล่นได้ ๒. ไม่แสดงกิริยาเสียดสีล้อเลียน หรือกล่าวถ้อยคำที่ไม่สุภาพต่อผู้เล่นฝ่ายเดียวกัน หรือฝ่ายตรงข้าม หรือผู้ชม ๓. เล่นตามกติกาที่กำหนดไว้ โดยปฏิบัติตามระเบียบกติกาการเล่นอย่างเคร่งครัด๔. มีความสุภาพเรียบร้อย แสดงความเป็นมิตรและให้เกียรติแก่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม ก่อนและ หลังการแข่งขันเสร็จสิ้นลงควรจับมือผู้เล่น ของทีมตรงข้ามไม่ว่าทีม จะแพ้หรือชนะก็ตาม ๕. ไม่โต้เถียงหรือแสดงกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้ตัดสินในการตัดสิน ๖. มีใจคอหนักแน่น อดทน อดกลั้น และสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ถึงแม้ว่าผู้เล่นฝ่ายเดียวกันผิดพลาดก็ไม่ควรแสดงอาการไม่พอใจ๗. เชื่อฟังคำสั่งของหัวหน้าทีม และโค้ช๘. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมาย๙. รู้จักระงับอารมณ์ เมื่อเกิดการยั่วยุจากฝ่ายตรงข้าม๑๐.เมื่อเล่นกีฬาแพ้หรือชนะไม่ควรดีใจหรือเสียใจจนเกินไป๑๑.การเล่นกีฬาต้องเล่นอย่างสุดความสามารถ ไม่ว่าตนเองจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะ๑๒.ต้องมีน้ำใจนักกีฬารู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย๑๓.มีความตั้งใจในการฝึกซ้อม และมีความอดทน๑๔.มีความอดกลั้นและไม่ใช้อารมณ์รุนแรง๑๕.ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่นในขณะฝึกซ้อมหรือแข่งขัน๑๖.หลังจากการฝึกซ้อมหรือเล่นแล้วควรเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย


วัตถุประสงค์ที่สำคัญในการดูกีฬาก็เพื่อเป็นการพักผ่อนหย่อนใจ หาความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ช่วย คลายความตึงเครียด และเป็นการเสริมสมรรถภาพทางด้านจิตใจให้มีความสุข ผู้ดูกีฬาที่ดีต้องทำใจให้ได้ว่า แพ้หรือชนะก็ตาม ต้องไม่แสดงพฤติกรรมหรือกริยามารยาท ที่ไม่สุภาพเรียบร้อยทั้งคำพูด หรือท่าทาง ซึ่งอาจเป็นเหตุก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท ดังนั้นผู้ดูกีฬาที่ดีพึงปฏิบัติดังนี้
๑. แสดงความยินดีด้วยการปรบมือให้แก่ผู้เล่นที่เล่นดี มีมารยาทดี๒. ไม่เชียร์ในสิ่งที่เป็นการเสียดสีในทางไม่ดีต่อทีมใดทีมหนึ่ง๓. ไม่กระทำตัวเป็นผู้ตัดสินเสียเอง เช่น การตะโกนด่าว่าผู้ตัดสิน เป็นต้น๔. ไม่กระทำสิ่งใด ๆ ที่ทำให้ผู้ตัดสินหรือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ปฏิบัติงานไม่สะดวก๕. นั่งชมด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยในที่ที่จัดไว้ให้ ไม่ยืนเกะกะบังผู้อื่น๖. ปรบมือให้เกียรติเมื่อกรรมการผู้ตัดสิน และนักกีฬาลงสู่สนาม๗. ไม่กล่าวถ้อยคำ ส่งเสียงโห่ร้องหรือแสดงกิริยาเยาะเย้ยถากถางผู้เล่นที่เล่นผิดพลาด หรือผู้ตัดสินตัดสินไม่เป็นไปตามความต้องการของตนเอง ๘. ปรบมือแสดงความยินดีแก่ผู้ชนะ ผู้เล่นที่ได้รับรางวัล๙. ไม่แสดงกริยาท่าทาง ส่งเสียง ยั่วยุ ให้ผู้เล่น ไม่มีสมาธิหรือเกิดการทะเลาะวิวาท๑๐.ไม่แสดงกริยาที่ไม่สุภาพ หรือใช้สิ่งของขว้างปานักกีฬา กรรมการตัดสิน หรือผู้ชม๑๑. ควรรู้กติกาการแข่งขันกีฬาที่ตนดู๑๒. การชมเป็นหมู่คณะควรจะนั่งรวมกันเป็นกลุ่ม และเชียร์ด้วยเพลง และภาษาที่สุภาพ๑๓.ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้ในการดูกีฬา๑๔. ช่วยห้ามปรามหรือตักเตือนเพื่อนฝูง ไม่ให้ก่อเหตุวุ่นวายขึ้ในการดูกีฬา๑๕. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยเมื่อเกิดเหตุวุ่นวาย ในสนาม๑๕. ติดตาม สนับสนุน ให้กำลังใจ และให้เกียรตินักกีฬาทุกประเภท เพื่อเป็นการส่ง เสริมการกีฬาของชาติ

ความปลอดภัยของการเล่นวอลเลย์บอล

การเล่นกีฬาทุกประเภทย่อมก่อให้เกิดการพัฒนาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมอย่างแน่นอน ส่วนจะเกิดการพัฒนาหรือผู้เล่นกีฬาจะได้รับประโยชน์มากหรือน้อย นั้น ย่อมขึ้นอยู่กับเกมกีฬา วิธเล่น ระยะเวลา ของการเล่นกีฬา และปัจจัยอื่นหลายประการ แต่อย่างไร ก็ตามการเล่นกีฬาที่ไม่เหมาะสมกับสภาพของร่างกาย สุขภาพ อนามัย กาลเทศะ หรือความพอดีใน การออกกำลังกายแล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายขึ้นได้เช่นกัน ด้วยเหตุนี้ การเล่นกีฬาจึงควรได้พิจารณาเกี่ยวกับหลักความปลอดภัยในหลาย ๆ ด้าน สำหรับการเล่นกีฬาวอเลย์บอลให้ปลอดภัย ควรปฏิบัติดังนี้ ๑. ก่อนเล่นกีฬาวอลเลย์บอลทุกครั้งต้องอบอุ่นร่างกายเสียก่อน โดยเฉพาะข้อมือ ข้อเท้า เข่า ฯลฯ ให้มาก ๒. ต้องแต่งกายชุดเล่นกีฬาให้เหมาะสมกับการเล่นกีฬาวอลเลย์บอล ๓. ต้องตรวจสอบอุปกรณ์และสนามให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อย มั่นคงแข็งแรง พร้อมที่จะฝึกซ้อมได้ ๔. ต้องเล่นด้วยความระมัดระวัง และเล่นตามหลักการและวิธีการของการเล่น กีฬาวอลเลย์บอล ๕. ไม่ล้อเลียนหรือกลั่นแกล้งกันในขณะฝึกซ้อม ๖. ไม่เล่นหรือฝึกซ็อมจนเกินกำลังความสามารถของร่างกายและไม่เล่นหักโหม ๗. ควรจะฝึกจากท่าที่ง่ายไปหาท่าที่ยากขึ้นและฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป ๘. ไม่ควรฝึกซ้อมในที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ง่าย ๙. ไม่ควรฝึกซ้อมในสนามกลางแจ้งในขณะที่มีฝนตก ฟ้าร้อง หรือแดดร้อนจัด ๑๐. ไม่ควรฝึกซ้อมหรือเล่นวอลเลย์บอลหลังอิ่มอาหารใหม่ ๆ



ความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา

ลักษณะของความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬาคือ จะแพ้ หรือชนะไม่สำคัญ ข้อสำคัญคือ ได้มีส่วนร่วมในการแข่งขัน และได้ทำการแข่งขันอย่างเต็มความสามารถ เชื่อฟังผู้ตัดสินไม่ฝ่าฝืนกฏกติกาของการเล่น รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย ฯลฯ ซึ่งมีหลักการปฏิบัติเพื่อแสดงความเป็นผู้มีน้ำใจนักกีฬา คือ๑. ปฏิบัติตามกฏกติกาของการเล่น๒. ซื่อสัตย์สุจริตต่อคู่แข่งขัน และเพื่อนฝูง๓. เป็นผู้รู้จักข่มใจ รักษาสติไม่ให้โมโหโทโส๔. เป็นผู้ที่รักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ๕. หากปราชัยก็ทำใจให้หนักแน่น๖. หากมีชัยก็ไม่แสดงความภูมิใจจนออกนอกหน้า๗. เป็นผู้ที่ผุดผ่องทั้งกาย วาจา ใจ อยู่เสมอ๘. เล่นกีฬาเพื่อชั้นเชิงของการกีฬา ไม่ใช่เล่นกีฬาเพื่อจะทะเลาะวิวาทกัน๙. เป็นผู้มีใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผือแผ่ ๑๐.เป็นผู้สุภาพอ่อนโยน๑๑.เป็นผู้มีใจคอกว้างขวาง๑๒.เป็นผู้มีความอดทน กล้าหาญ๑๓.เป็นผู้มีความเชื่อฟังและเคารพต่อเหตุผล๑๔.เป็นผู้รักษาความยุติธรรม๑๕.เป็นผู้รู้แพ้ รู้ชนะ และรู้อภัย






บรรณานุกรม http://school.obec.go.th/volley/teach001.html

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2551

E-Learning

eLearning ดร. ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตีพิมพ์ในนิตยสาร DVM ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 JANUARY-FEBRUARY 2002 หน้า 26-28
นิยามและความหมาย
ความหมายของคำว่า e-learning หรือ Electronic Learning ในปัจจุบันค่อนข้างแตกต่างกันออกไปตามแหล่งที่มาและการนำไปใช้ แต่กล่าวโดยทั่วไปแล้ว e-learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถนที่ (Anywhere-Anytime Learning) เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนรู้ในลักษณะ e-learning หลายคนยังเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเพียงกระบวนการเปลี่ยนสื่อและเอกสารประกอบการสอนเดม ที่อยู่ในรูปสื่อกระดาษ (Paper base ) แผ่นใสหรือหนังสือ แปลงให้อยู่ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (electronic format) เช่น แฟ้มข้อมูลชนิด Microsoft Word หรือ Microsoft PowerPoint หรือแปลงเป็นเว็บเพจแล้วนำเสนผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือเก็บไว้ในสื่อ CD-ROM จากนั้น ให้ผู้เรียนไปเรียนรู้เอง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการสอนแบบ e-learning ซึ่งแนวความคิดนี้ยังเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งนะครับ
การนำระบบ e-learning มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการสอนสูงสุดนั้น ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบ e-learning แตกต่างจากระบบการเรียนการสอนในรูปแบบปกติที่เรียกกันว่า face-to-face หรือ traditional classroom learning อย่างไร และจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านการปรับปรุงเรื่องเนื้อหา เทคโนโลยี เทคนิคการนำเสนอและการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ การนำระบบ e-learning เข้ามาใช้ และต้องระลึกไว้อยู่เสมอว่าคุณภาพการเรียนรู้ของระบบ e-learning ต้องไม่ด้อยไปกว่าคุณภาพการเรียนรู้ในรูปแบบปกติ
คำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
· การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education)
โดยปกติแล้ว การเรียนการสอนทางไกล เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกกรสอนระยะทางไกลสู่ผู้เรียนหนึ่งคน หรือมากกว่าในสถานที่ต่างกัน
การเรียนการสอนแบบทางไกล เป็นระบบการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลายๆอย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์การประชุมทางไกลชนิดภาพ/เสียง รวมถึงเอกสารต่างๆเพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ทางไกล หน่วยงานที่มีชื่อว่า National Center for Education Statistics(NCES) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดแบ่งยุคต่างๆของเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการเรียนการสอนแบบทางไกลไว้เป็น 4 ยุค ด้วยกัน แสดงในตารางที่ 1
ตาราง 1 ยุคต่างๆของการใช้เทคโนโลยีในระบบการเรียนการสอนทางไกล

ยุคที่ 1
ยุคที่ 2
ยุคที่ 3
ยุคที่ 4
ลักษณะสมบัติหลัก
ใช้เทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว
ใช้เทคโนโลยีหลายอย่าง ยกเว้นคอมพิวเตอร์
ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างรวม เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ใช้เทคโนโลยีหลายอย่าง รวมถึงการเริ่มต้นใช้เทคโนโลยีแบนด์วิดท์สูง
ช่วงระหว่างปี ค.ศ.
1850-1960
1960-1985
1985-1995
1995-2005 (โดยประมาณ)
สื่อที่ใช้
สื่อสิ่งพิมพ์ (1890+)
วิทยุ (1930s)
โทรทัศน์ (1950s และ1960s)
เทปคาสเซ็ท
โทรทัศน์
แถบวีดีทัศน์
โทรสาร
สื่อสิ่งพิมพ์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การสนทนา กระดานข่าวสารโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โปรแกรมคอมพิวเตอร์แหล่งข้อมูล สำเร็จรูปบนแผ่นบันทึกข้อมูล ซีดีรอมและอินเทอร์เน็ต
ระบบการประชุมทางเสียง
การสัมนา และการประชุมวีดีทัศน์สำหรับชั้นเรียนขนาดใหญ่ ผ่านดาวเทียม เคเบิล และเทคโนโลยีโทรศัพท์
โทรสาร
สื่อสิ่งพิมพ์
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์การสนทนากระดานข่าวสารโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ผนวกกับการสื่อสารชนิดแบนด์วิดท์สูงที่สามารถปรับให้เข้ากับความต้องการ เช่น กรใช้ระบบวีดีทัศน์ชนิดโต้ตอบกัน ณ เวลาจริง
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แหล่งข้อมูลสำเร็จรูปบนแผ่นบันทึกข้อมูลซีดีรอมและอินเทอร์เน็ต
ระบบการประชุมทางเสียง
การประชุมวีดีทัศน์สู่เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผ่านทางดาวเทียมเคเบิลและเทคโนโลยีโทรศัพท์
โทรสาร
สื่อสิ่งพิมพ์
ลักษณะการติดต่อสื่อสาร
เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว
การปฏิสัมพันธ์ผ่านทางโทรศัพท์และไปรษณีย์
บางครั้งมีการพบปะกับผู้สอนเป็นครั้งเป็นคราว
เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว
การปฏิสัมพันธ์ผ่านทางโทรศัพท์โทรสาร และไปรษณีย์
มีการพบปะกับผู้สอนเป็นครั้งเป็นคราว
เป็นการสื่อสารแบบหลากหลาย เช่น ผ่านทางสื่อสิ่งพิมพ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์และการประชุมวีดีทัศน์
เป็นการสื่อสาร 2 ทางชนิดอะซิงโครนัสและซิงโครนัส
อินเทอร์เน็ตชนิดข้อมูลตัวอักษรภาพและแถบวัดีทัศน์สั้นๆ
เป็นการสื่อสารแบบโต้ตอบ 2 ทางชนิด ณ เวลาจริงทั้งภาพและเสียง
เป็นการสื่อสารแบบทั้งชนิดอะซิงโครนัสและซิงโครนัส
ส่งสัญญาณภาพวีดีทัศน์ดิจิทัลพร้อมกับข้อมูลจากฐานข้อมูลจากฐานข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเว็บ
ส่งสัญญาณภาพวีดีทัศน์ดิจิทัลที่มีความยาวมากได้เมื่อผู้ใช้ต้องการ
(ที่มา:National Center for Education Statistics, "Distance Education at Postsecondary Education Institutions:1997-98", December 1999.)
· การศึกษาผ่านทางอินเทอร์เน็ต (Web-Based Education)
American Center for the Study of Distance Education (ACSDE) ของมหาวิทยาลัย Pennsylvania State University ได้อธิบายความหมายของการศึกษาผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ Web-Based Education ไว้ว่า "เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบทางไกลชนิดหนึ่ง ซึ่งการนำเสนอ เนื้อหา และการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เกิดจากการประยุกต์ใช้ อินเทอร์เน็ตเทคโนโลยี"
เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนการสอนทางไกลชนิดอื่นแล้ว รูปแบบการเรียนการสอนชนิดนี้ มีการผสมผสานสื่อหลากหลายชนิดเข้าด้วยกันเช่น ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ เสียงฯลฯ อีกทั้งยังเอื้ออำนวยให้เกิดการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ทั้งที่ ณ เวลาจริง หรือต่างเวลากัน การเรียนการสอนชนิดนี้ ทำให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่ต้องมีการประสานงานกัน(Collaborative Environments) ทั้งผู้เรียนและผู้สอน สามารถเข้าถึงฐานข้อมูลชนิดหลายสื่อทางไกลได้
ผู้เรียนในบางขณะอาจต้องการเข้าถึงแหล่งข้อมูล เพื่อเรียนรู้แบบที่ผู้เรียนสามารถ ควบคุมจังหวะการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่ยืดหยุ่นแก่ผู้เรียน
นอกจากนี้ การเรียนการสอนชนิดนี้ยังช่วยกำจัดด้านเวลา และระยะทางแก่ผู้เรียน นั่นหมายถึงผู้เรียนสามารถเข้ามาลงเรียนรู้เนื้อหาวิชาได้ จากที่ใดก็ได้
· การเรียนการสอนแบบออนไลน์ (Online Learning)
หมายถึง ระบบการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในรูปแบบของออนไลน์ ปัจจุบันมักหมายถึง การแปลงสภาพของการเรียนการสอนในรูปแบบเดิม ให้กลายมาเป็นการนำเนื้อหามาเป็นในรูปแบบของเว็บเพจ หรือเสียงบรรยายที่ถูกบันทึกไว้แล้ว ทำให้นักศึกษาสามารถนำกลับมาฟังใหม่อีกได้ หรือการนำเอาลักษณะ การถามตอบในชั้นเรียนมาแปลงเป็นการใช้กระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์
· โครงข่ายการเรียนอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Networks:ALN)
หมายถึงโครงข่ายของกลุ่มผู้เรียนที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบที่ใดก็ได้ ณ เวลาใดก็ได้ (Anywhere-Anytime Learning)การเรียนการสอนแบบ เป็นการผนวกการเรียนรู้ด้วยตนเอง (self-study) กับระบบการเรียนแบบปฏิสัมพันธ์อะซิงโครนัส
โดยทั่วไปแล้ว คำว่า อะซิงโครนัส (Asynchronous) หมายความว่า ณ ต่างเวลากัน ฉะนั้น ผู้เรียนในระบบ ALN นี้ จะใช้การติดต่อสื่อสารผ่านทางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารต่างๆ เพื่อเข้าถึงสื่อการเรียนการสอนระยะไกล หรือเพื่อปฏิสัมพันธ์ กับอาจารย์ผู้สอน หรือผู้เรียนอื่น โดยไม่จำเป็นต้องออนไลน์ ณ เวลาเดียวกัน สื่อการเรียนการสอนระบบ ALN ที่นิยมใช้มกที่สุดคือ World Wide Web
จากคำจำกัดความเช่นนี้ ทำให้ระบบการเรียนการสอนชนิดนี้ จำเป็นจะต้องมีระบบที่เอื้อให้เกิดการถาม-ตอบ และปฏิสัมพันธ์กันออนไลน์เช่น การใช้กระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม การเรียนการสอนแบบนี้ บางขณะอาจจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสาร แบบซิงโครนัส(ณ เวลาเดียวกัน) อยู่บ้าง เช่น ในขณะการพบปะกันในครั้งแรกในชั้นเรียน การทดสอบการประชุมกลุ่ม หรือการพบปะพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษาร่วมชั้นซึ่งเหตุการณ์เหล่านี้ อาจเกิดขึ้นในลักษณะออนไลน์ หรือ ในลักษณะพบปะกันจริงก็ได้
โดยปกติแล้ว ระบบการเรียนการสอนแบบ ALN จะไม่รวมกระบวนการวิชาที่มีลักษณะเป็นการถ่ายทอดสดระบบภาพวีดีทัศน์หรือเสียงเป็นหลัก เนื่องจากระบบการเรียนการสอนแบบนั้น ผู้เรียนและผู้สอนทั้งหมด จำเป็นต้องใช้เวลาที่ตรงกันทุกครั้ง เช่น ในการร่วมกิจกรรมที่มีการบรรยายเป็นต้น นอกจากนั้น ในระบบการเรียนการสอนที่การใช้เทปวีดีทัศน์ หรือการส่งเนื้อหาวิชาผ่านทางไปรษณีย์เป็นหลัก เช่นเดียวกันไม่จัดว่าเป็นการเรียนการสอนแบบ ALN เนื่องจากไม่เกิดการปฏิสัมพันธ์กัน ระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ผู้สอน หรือ ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนคนอื่น
รูปที่ 1 องค์ประกอบการเรียนรู้แบบ ALN
ที่มา: Bourne, John R. Net-Learning (Asynchronous Learning Networks: ALN): Strategies for On-Campus and Off-Campus Network-Enabled Learning. Journal of AsynChronous Learning Networks. Vol. 2, Issue 2, September 1998.
รูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบการเรียนการสอน (Learning methods) หมายถึงรูปแบบหรือชนิดของการปฏิสัมพันธ์( Interaction)แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะหลักๆคือ
1. รูปแบบการเรียนการสอนในลักษณะซิงโครนัส (Synchronous Learning methods)หมายถึงการนำเสนอองค์ความรู้ รวมถึงปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน หรือผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน เกิดขึ้น ณ เวลาพร้อมกัน หรือเกิดขึ้น ณ เวลาจริง ลักษณะการนำเสนอของ e-Learning ที่อยู่ในรูปแบบนี้ได้แก่ การใช้ระบบ Video Conference หรือระบบ Online Chat ไม่ว่าจะเป็นชนิดเสียงหรือตัวอักษร การปฏิสัมพันธ์จะเกิดขึ้น ณ เวลาเดียวกัน
2. การนำเสนอในลักษณะอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning methods)การนำเสนอในลักษณะนี้ คู่ปฏิสัมพันธ์ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาที่ตรงกัน ตัวอย่างการเรียนการสอน e-Learning ในลักษณะนี้ได้แก่ การที่ให้นักศึกษาเรียนรู้ผ่านทางเว็บเพจ การปฏิสัมพันธ์ อาจเกิดขึ้นโดยการใช้กระดานสนทนาอิเล็กทรอนิกส์ (Webboard) หรือการใช้ E-mail เป็นต้น
วัตถุประสงค์ของการนำสื่อ e-learning มาใช้
เราพอสรุปแง่มุมวัตถุประสงค์ของการนำสื่อ e-learning มาใช้ได้เป็น 3 ระดับดังนี้ คือ
ระดับที่ 1 เป็นส่วนเสริม (Supplementary) ระดับนี้ ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่ถูกนำเสนอออนไลน์สามารถถูกค้นพบได้ในรูปแบบอื่นๆ หน้าที่ของสิ่งต่างๆที่อยู่ออนไลน์ คือ เป็นทางเลือกทางการศึกษาแก่ผู้เรียนอีกทางหนึ่ง หรือเป็นการขยายโอกาสให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์เพิ่มเติม
ระดับที่ 2 เป็นองค์ประกอบ (Complementary) ระดับนี้เป็นการเพิ่มสื่ออออนไลน์เข้าไปกับวิธีนำเสนออื่นๆ เช่น ในชั้นเรียนปกติสื่อที่เป็นออนไลน์จัดว่าเป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งที่ผู้เรียนจะต้องเข้าไปเรียนรู้ หน้าที่ของสื่อชนิดนี้ คือการให้ประสบการณ์การเรียนแก่ผู้เรียนซึ่งประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับประเภทของสื่อที่ใช้
ระดับที่ 3 เป็นการทดแทนสมบูรณ์แบบ (Comprehensive Replacement) ระดับนี้ การนำเสนอแบบออนไลน์จัดว่าเป็นรูปแบบหลักของการนำเสนอ หรือถูกนำมาใช้ตั้งแต่ต้นของกระบวนการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม อาจมีการนำเสนอรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้องร่วมด้วยได้ เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ หรือปฏิบัติการ เป็นต้น หน้าที่ของสิ่งต่างๆ ที่อยู่ออนไลน์คือเป็นการให้สิ่งแวดล้อมการเรียนอย่างสมบูรณ์ของเนื้อหากระบวนวิชานั้นๆ
ตารางเปรียบเทียบกิจกรรมการเรียน
รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่ว่าเป็นในสิ่งแวดล้อมที่เป็นชั้นเรียนโดยทั่วไปหรือเรียนในระบบ e-Learning สามารถเปรียบเทียบกิจกรรมการเรียนการสอนได้ดังแสดงตามตารางที่ 2
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบรูปแบบการเรียนการสอน
รูปแบบของการเรียน
ในสิ่งแวดล้อมชั้นเรียนปกติ
ในแบบเรียนในระบบ e-learning
เรียนรู้จากการฟัง (Learning by listening)
ผู้เรียนนั่งฟังบรรยายในชั้นเรียน
ใช้ระบบวีดิทัศน์ออนดีมานต์ผ่านทางเว็บเพจที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูเมื่อใดก็ได้หรือสามารถเก็บไฟล์ไว้ดูเอง
เรียนรู้จากการค้นคว้า(Discovery learning)
ผู้เรียนค้นคว้าจากห้องสมุดหรือค้นหาจากสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
ใช้การค้นหาผ่านทางเว็บ เช่น Search Engines ต่างๆการค้นคว้าแบบนี้ค่อนข้างจะให้ผลที่บางครั้งดีกว่าการค้นคว้าจากห้องสมุดปกติ
เรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learn by doing)
ปฏิบัติการในห้องทดลอง หรือการปฏิบัติจริงในสถานการณ์ ต่างๆ รวมถึงการเขียนรายงานการสร้างบางสิ่งบางอย่างตามจุดประสงค์
ใช้การเรียนรู้แบบโมดูลการใช้แบบจำลองออนไลน์(Online Simulation) ที่เป็นทั้งระบบปฏิสัมพันธ์(Interactive) กับผู้ใช้ รวมถึงการเขียนรายงานส่งออนไลน์ การวิจารณ์ต่างๆส่งผ่านอออนไลน์
เรียนรู้จากการโต้ตอบ หรือ สนทนาในชั้นเรียน (Learn Through Discussion and Debate)
เช่นในวิชาสัมมนาที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสนทนา และโต้ตอบในชั้นเรียนส่วนใหญ่และจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ หากมีผู้เรียนจำนวนมาก
ใช้ระบบกระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้การสนทนาดีกว่าในสิ่งแวดล้อมที่เป็นชั้นเรียนปกติ เมื่อผู้เรียนมีจำนวนมาก





















โรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
กรุงเทพมหานคร
โดย นาย ศักดิ์นรินทร์ ชิดพังเทียม
รหัส 4520
www.krucai.com